สํานักนโยบาย เศรษฐกจิมหภาค  (สศม.) รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 17 ธ.ค. 64
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ย. 64 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และปรับตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 85.4 จากระดับ 82.1 ในเดือนก่อน
2. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ  -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.9 จากระดับ 43.9 ในเดือนก่อน
4. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64 คิดเป็น 1.95 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย 
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ย. 64 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และปรับตัว สูงสุดในรอบ 8 เดือน ที่ระดับ 85.4 จากระดับ 82.1 ในเดือนก่อน

ดัชนีฯ เดือน พ.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาคต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่องค์ประกอบของดัชนีฯ เพิ่มขึ้น เกือบทุกรายการ ทั้งยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยมีปัจจัย สนับสนุนจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลายลง ทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ประกอบ กับอุปสงค์ในต่างประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสาคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีน อาเซียน และ อินเดีย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ราคาต้นทุนวัตถุดิบและราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง อีกทั้งการกลับมาระบาด ของโควิด-19 รอบใหม่ในหลายประเทศ อาจส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตได้

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน แต่หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

โดยในเดือน พ.ย. 64 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาหดตัวเมื่อเทียบรายปี อันมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านการผลิตปูนซีเมนต์ใน บริษัทเอกชนบางราย ส่งผลให้การผลิตและการจาหน่ายชะลอลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเมื่อเทียบรายเดือนหลังหักผลของฤดูกาล ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือน 2 ตามกิจกรรมการก่อสร้างที่กลับมาดาเนินการได้มากขึ้น หลังสถานการณ์ โควิด-19 และน้าท่วมในหลายจังหวัดคลี่คลายลง ขณะที่ในระยะถัดไป ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ อาจส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงการก่อสร้างให้กลับมาชะลอตัวลง

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.9 จากระดับ 43.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่ เดือน พ.ค. 64 เป็นต้นมา

โดยเป็นผลมาจาก ศบค. ผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพื่อเป็นการรองรับมาตรการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 เป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ (ประเทศที่มีความเสี่ยงต่า) เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัวและได้ปรับโดยลดพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) และพื้นที่นาร่อง ท่องเที่ยว (สีฟ้า) พร้อมทั้งยกเลิกการเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจและประชาชนสามารถดาเนินชีวิตและประกอบธุรกิจได้ใกล้เคียงกับระดับ ปกติ เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวขึ้น เป็นลาดับ

เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64 คิดเป็น 1.95 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ 5.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
สหรัฐ

  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดใน รอบ 5 เดือน เนื่องจากสหรัฐฯ ได้เข้าสู่ช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปี
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.3 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางปัญหาด้านอุปทานติดขัด
  • ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 11.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาล) จากยอดสร้างบ้านใหม่ที่ขยายตัวสูงในทุกประเภท
  • ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดทาวน์โฮมส์ที่หดตัวลง และยอดบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน
  • คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ระดับร้อยละ 0.00-0.25 ต่อไป แต่จะเร่งดาเนินการ Tapering โดยจะลดจานวนการซื้อ พันธบัตรรัฐบาลลงเดือนละ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดจานวนการซื้อ mortgage backed securities ลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (5-11 ธ.ค. 64) อยู่ที่ระดับ 2.06 แสน ราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 1.88 แสนราย แต่เป็นระดับที่ต่ากว่าค่าเฉลี่ย ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ระดับ 2.20 แสนราย

จีน

  • ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรง หนุนจากการฟื้นตัวของการผลิตพลังงานและราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลง
  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภคที่ ลดลงท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมียอดขายเครื่องประดับ เครื่องใช้ในบ้าน โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์น้ามัน ที่ชะลอลงเป็นสำคัญ
  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกาลังแรงงานรวม

ยูโรโซน

  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.0 จุด ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.4 จุด อย่างไรก็ดี สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.8 จุด
  • ดัชนี PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.9 จุด เน่ืองจากการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งของโรคโควิด-19 ในภูมิภาค ยุโรป
  • ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ธ.ค. 64 นอกจากนี้ ทางธนาคารกลางยุโรปได้ประกาศปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) และจะยุติโครงการดังกล่าวใน เดือน มี.ค. 65 และทางธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวเสริมว่า การเพิ่มข้ึนของอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ ผ่านมาน้ีเป็นการเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ฮ่องกง

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ของช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น การขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 31 โดยได้รับแรงหนุนจากการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ และสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่เพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ
  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม

สิงคโปร์ 

  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ 6.24 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่เกินดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • อัตราว่างงาน ไตรมาส 3 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากไตรมาสก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของกาลังแรงงานรวม

มาเลเซีย

  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 49.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 53.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 52.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 51.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุล 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี เพื่อ สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ออสเตรเลีย

  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.4 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 59.2 จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงสูงกว่าระดับ 50 จุด แสดงถึง ภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว
  • ดัชนี PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 55.7 จุด อย่างไรก็ดี ถือเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ระดับดัชนีสูงกว่าระดับ 50 จุด สะท้อนถึงภาคบริการที่ยังคงขยายตัว
  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกาลังแรงงานรวม เนื่องจากทางภาครัฐได้ผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมโควิด-19 ที่มากขึ้น

ฟิลิปปินส์

  • ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี

เกาหลีใต้

  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวม โดยได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้น

ไต้หวัน

  • ธนาคารกลางไต้หวันประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.125 ต่อปี

สหราชอาณาจักร

  • อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ก.ย. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม และอัตราการว่างงานของสหราชอาณาจักรได้ ลดลงมาอย่างต่อเนื่องนับต้ังแต่ ธ.ค. 63
  • อัตราการเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้น จากเดือน ต.ค. 64 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการขยายตัว ที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ ก.ย. 54
  • ธนาคารกลางอังกฤษมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.1 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ธ.ค. 64 โดยมีจุดประสงค์เพ่ือลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อท่ีเพิ่มสูงขึ้น ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.6 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64 ท่ีอยู่ที่ระดับ 58.1 จุด และสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ท่ีระดับ 57.6 จุด เช่นกัน
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 58.5 จุด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อกิจกรรมทางเศรฐกิจในภาคบริการ

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น HSI (ฮ่องกง) STI (สิงคโปร์) และ DAX (เยอรมนี) เป็นต้น เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,645.32 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 13-16 ธ.ค. 64 อยู่ที่ 73,202.05 ล้านบาทต่อวัน โดยนัก ลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็น ผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13-16 ธ.ค. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์ สุทธิ 8,531.67 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มข้ึนในช่วง 0 ถึง 8 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 22 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.79 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13-16 ธ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 6,064.26 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันท่ี 16 ธ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 142,464.51 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันท่ี 16 ธ.ค. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.06 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ริงกิต วอน ดอลลาร์ สิงคโปร์ และหยวนท่ีปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ีเงินสกุลยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน หน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าสกุลเงิน หลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.16 จากสัปดาห์ก่อน

 

Economic Indicators

Global Economic Indicators

ขอบคุณข้อมูลจาก สศม. - สํานักนโยบาย เศรษฐกจิมหภาค Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259